เมนู

อนึ่ง พึงพัดท่านด้วยพัด. เมื่อพัด พึงพัดที่หลังเท้าครั้งหนึ่งกลางตัว
ครั้งหนึ่ง ศีรษะครั้งหนึ่ง. เธออันท่านกล่าวว่า พอหยุดเถิดพึงพัดให้อ่อนลง.
เธออันท่านกล่าวว่า พอละ พึงพัดให้อ่อนลงกว่านั้น. ท่านกล่าวถึงครั้งที่ 3
พึงวางพัดเสีย. พึงล้างเท้าของท่าน. ครั้นล้างแล้ว ถ้าน้ำมันของตนมี, พึงทา
ด้วยน้ำมัน. ถ้าไม่มี, พึงทาด้วยน้ำมันของท่าน. ส่วนการเช็ดรองเท้า พึงทำ
ตามความชอบใจของตน. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สเจ
อุสฺสหติ. เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่เช็ดรองเท้า.
เธออันท่านถามว่า เสนาสนะถึงแก่เราที่ไหน ? พึงจัดแจง เสนาสนะ อธิบาย
ว่า พึงบอกอย่างนี้ว่า เสนาสนะที่ถึงแก่ท่าน ดังนี้. แลสมควรแท้ ที่จะตบ
เสียก่อน จึงปูลาด.
วินิจฉัยในวัตรของอาคันตุกะผู้นวกะ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า ปานียํ อาจิกฺขิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่น พึงบอก
ว่า ท่านจงถือเอาน้ำนั้นดื่ม ดังนี้. แม้ในน้ำใช้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือ
เหมือนคำก่อนนั่นแล.
จริงอยู่ ภิกษุเจ้าถิ่นจะไม่ทำวัตรแก่อาคันตุกะ ผู้มาถึงสำนักของตน
แม้ในอาวาสใหญ่ ย่อมไม่ได้.

[ คมิกวัตร]


วินิจฉัยในคมิกวัตร พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ทารุภณฺฑํ ได้แก่ เตียงและตั่งเป็นต้น ที่กล่าวแล้วในเสนา-
สันกขันธกะ. แม้ภัณฑะดิน ก็ได้แก่ภาชนะสำหรับย้อมเป็นต้น ภัณฑะทั้งปวง
มีประเภทดังกล่าวแล้วในเสนาสนักขันธกะนั่นแล.
ภัณฑะทั้งปวงนั้น อันภิกษุผู้เตรียมจะไป พึงเก็บไว้ที่โรงไฟหรือใน
ที่อื่นซึ่งคุ้มได้แล้วจึงไป. จะเก็บไว้ในเงื้อมที่ฝนไม่รั่วก็ควร.

วินิจฉัยในคำว่า เสนาสนํ อาปุจฺฉิตพฺพํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
เสนาสนะใด สร้างไว้บนศิลาดาดหรือบนเสาศิลา, ปลวกทั้งหลายขึ้น
ไม่ได้ในเสนาสนะใด, ไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่บอกมอบเสนาสนะนั้น.
คำว่า จตูสุ ปาสาณเกสุ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อ
แสดงอาการที่จะพึงกระทำ ในเสนาสนะมีบรรณศาลาเป็นต้น อันเป็นสถานที่
เกิดแห่งปลวกทั้งหลาย.
ข้อนี้ว่า บางที แม้ส่วนทั้งหลาย จะพึงเหลืออยู่บ้าง ดังนี้ เป็น
อานิสงส์ในเสนาสนะที่ตั้งไว้กลางแจ้ง.
ส่วนในเรือนที่ฝนรั่วได้ เมื่อหญ้าและก้อนดินตกลงข้างบน (แห่งเตียง
และตั่ง) แม้ส่วนทั้งหลายแห่งเตียงและตั่ง ย่อมฉิบหายไป

[เรื่องอนุโมทนา]


วินิจฉัยในเรื่องอนุโมทนา พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า อิทธํ อโหสิ มีความว่า ภัตได้เป็นของถึงพร้อมแล้ว.
ข้อว่า จตูหิ ปญฺจหิ มีความว่า เมื่อพระสังฆเถระนั่งแล้วเพื่อต้อง
การจะอนุโมทนา ภิกษุ 4 รูปพึงนั่งตามลำดับข้างท้าย. เมื่อพระอนุเถระนั่ง
แล้ว พระมหาเถระพึงนั่ง และภิกษุ 3 รูปพึงนั่งข้างท้าย. เมื่อภิกษุรูปที่ 5
นั่งแล้ว ภิกษุ 4 รูปพึงนั่งข้างบน. เมื่อภิกษุหนุ่มข้างท้าย อันพระสังฆเถระแม้
เชิญแล้ว ภิกษุ 4 รูป พึงนั่งตั้งแต่พระสังฆเถระลงมาทีเดียว.
ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้อนุโมทนากล่าวว่า ไปเถิด ท่านผู้เจริญ ไม่มีกิจที่จะ
ต้องคอย ดังนี้ ควรไป. เมื่อพระมหาเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พวกเราจะไปละ
เธอกล่าวว่า นิมนต์ไปเถิด, แม้อย่างนี้ ก็ควรไป.